SEO

[เจาะลึก] 3 เทคนิคพื้นฐาน On-Page SEO ตัวสำคัญในปี 2016

7

ในการทำ SEO นั้น เมื่อได้ศึกษาเรียนรู้มากขึ้นเรื่อยๆ จะรู้สึกเหมือนมันมีเทคนิค มีวิธีการ มีคำศัพท์ หรือมีอะไรที่ซับซ้อน ให้เราเป็นต้องเกิดความสงสัย ต้องค้นคว้า และเอามาทดลองอยู่ตลอด … แต่ไม่ว่าเทคนิคจะมีมากมาย หรือ ซับซ้อนแค่ไหน สุดท้ายแล้ว เราก็ยังจำเป็นต้องยึดเอาเทคนิคพื้นฐาน ไว้ก่อนเป็นหลัก

มีเพื่อนผมถามว่า SEO มันยุ่งยากขนาดนั้นเลยหรอ … ผมเองก็ตอบไปว่า เอาจริงๆวิธีการที่ผมใช้ทำอยู่ มันก็คือ แค่ทำความเข้าใจ SEO Onpage / Offpage พื้นฐาน แล้วก็เอามาประยุกต์ใช้มันนิดหน่อย ไม่ได้ใช้วิธีการอะไร ที่ยุ่งยากซับซ้อนนักหรอก (ยิ่งกับ Google ในปัจจุบัน ที่มันเน้นความมีคุณภาพเป็นหลัก)

ในบทความหนึ่งของ Niel Patel (ผมขอเรียก ป๋า Niel ละกัน) ซึ่งแกเป็น กูรูด้าน Online Marketing & SEO Expert ชื่อดังระดับโลก ที่ผมติดตามอยู่ … ได้นำเสนอเนื้อหา เทคนิคการทำ SEO ที่มันโดนใจผมเป็นอย่างมาก คือ มันเป็นอะไรที่ตรงกับเทคนิคที่ผมใช้ทำ SEO อยู่ในปัจจุบัน

 

neil-patel

(แม้ส่วนตัวแล้ว ผมจะยังหัวล้านไม่เท่าป๋า Niel … แต่ต้องยอมรับว่า
เหมือน ผมกับป๋า มีใจดวงเดียวกัน หลังจากได้อ่านบทความนี้ของแกจบ)

3 Super Simple SEO Strategies You Probably Forgot About
แปลเป็นไทยได้ประมาณว่า 3 สุดยอด แผนการทำ SEO แบบเรียบง่าย ที่คุณอาจจะลืมไป

Onpage SEO – 3 เทคนิคพื้นฐานสำคัญ ที่คุณไม่ควรมองข้าม

ในบทความที่ท่านจะได้อ่านด้านล่างนี้ ผมขออนุญาต นำประเด็นที่ ป๋า Niel เขียนไว้ มาต่อยอดขยายความ ให้ได้เข้าใจกันถึง พื้นฐานใน 3 ปัจจัย Onpage SEO ที่ผมถือว่าเป็นตัวสำคัญมาก ในรูปแบบ เจาะลึก (ทะลุใจ) นะครับ 555+

พื้นฐาน On-Page SEO #1 : User Experience สิ่งสำคัญอันดับแรกที่ไม่ควรมองข้าม

การทำ SEO ที่ดี ต้องคำนึงถึง User Experience (UX) ในที่นี้คือ การใช้งานของผู้ที่เข้าชมเว็บ (Visitor)

คุณไม่สามารถทำ “Good SEO” ได้ ถ้าปราศจาก “Good User Experience
Good SEO” ต้องมี “Great Content” (ที่เป็นประโยชน์ต่อ User)
Good SEO” ต้องมี “Functional Site” (Site ที่ไม่มี Error ต่างๆมากวนใจ User)
Good SEO” ต้องมี “Logical Site Navigation” (เมนู + ลิงค์ ง่ายต่อการคลิกของ User)
Good SEO” ต้องมี “Relevant Keywords” (คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง คำที่ User ใช้ค้นหา)

การยกระดับ User Experience ของเว็บไซต์ ถือเป็นการยกระดับการทำ SEO ของคุณ

เรื่องของ User Experience นี้ Google เริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ (จริงๆให้ความสำคัญมานานแล้ว) แต่คนทำ SEO ส่วนใหญ่ มักจะไม่ค่อยได้พูดถึงกัน … ถ้าให้อธิบายถึง ประสบการณ์การใช้งาน หรือ User Experience นี้ ขอบเขตของมัน จะเป็นไปตามภาพด้านล่าง

user-experience-areas

จากภาพ เมื่อผมได้ดูอย่างละเอียด (ไม่รู้ว่า คุณคิดเหมือนผมหรือเปล่า)
แน่นอนว่า … สิ่งแรกที่ชวนให้คิด ก็คือ “สีสันมันสวยดีนะ สีสายรุ้งสดใสทีเดียวเชียว ฮาฮา”
และสิ่งต่อมาที่ผมคิด คือ “มันแปลว่าอะไร ??” , “ไม่รู้เรื่อง …” , “คืออารัย ??” , “ไม่เข้าใจ…”

OK … เรื่องภาพ ขอใส่ไว้สำหรับ ปรับอารมณ์ให้สดใส เฉยๆละกันนะครับ
ส่วนเรื่อง User Experience สำหรับ Onpage SEO นั้น ผมขออธิบายแบบง่ายๆ คือ

เนื้อหา (Content) : สร้างขึ้นเพื่อให้คนจริงๆอ่านและมีคุณค่า คือเมื่ออ่านแล้ว ผู้เข้าเว็บควรได้รับอะไรกลับไปบ้าง เช่น ได้รับประโยชน์ , ได้รับความรู้ , ได้รับความบันเทิง , ได้รับคำตอบจากคำถามที่เค้าพิมพ์ถาม Google เป็นต้น

หน้าตาเว็บ (Design) : เว็บที่หน้าตาไม่ขี้เหล่จนเกินไป หรือถ้าดูสวยงามได้ก็จะยิ่งดี ที่สำคัญคือ ให้ดูแล้วเหมาะสม เข้ากับเนื้อหาในเว็บ ไม่ว่าจะเป็น การจัดวาง Layout ของส่วนต่างๆในเว็บ , การเลือกใช้ Font , สีสัน , ไปจนถึง การจัดวาง Text พารากราฟในบทความ หรือ Image เป็นต้น

ฟังก์ชั่นต่างๆและการใช้งาน (Usability & Functionality) : ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เรียบง่าย เว็บโหลดไวๆ

กล่าวโดยสรุปคือ

การทำ SEO ที่ดี ต้องคำนึงถึง คนจริงๆเป็นหลัก (ไม่ใช่ SEO แบบกูจัดหนักเพื่อ Google เท่านั้น)
เพราะ UX (User Experience) คือ กุญแจดอกสำคัญ สำหรับการทำ SEO ในปัจจุบันและอนาคต

พื้นฐาน On-Page SEO #2 : Title Tag พื้นๆที่ไม่ควรมองข้าม

คำว่า Title Tags ผมเชื่อว่า คนทำ SEO น่าจะรู้กันดี แต่จะขออธิบายขยายความเพิ่มเติมสำหรับมือใหม่

Title Tags คือ ชื่อหน้าของเว็บเพจ นั้นๆ ซึ่งโดยปกติจะแสดงผลอยู่ด้านบนสุดของ Browser

ถ้าหน้าเว็บเป็นหน้า HOME – Title Tags ก็คือ ชื่อเว็บ เช่น
หน้าแรกของเว็บนี้ Title Tags คือ WebBastard.Net | แหล่งความรู้ SEO & Internet Marketing
ถ้าหน้าเว็บเป็นบทความ – Title Tags ก็คือ ชื่อของโพสแต่ละบทความ เช่น
บทความนี้ Title Tags คือ [เจาะลึก] 3 เทคนิคพื้นฐาน On-Page SEO ตัวสำคัญในปี 2016

เทคนิคพื้นฐานเกี่ยวกับ Title Tags ที่ควรรู้

ความยาวของ Title Tags ควรอยู่ที่ 10-70 characters (ปกติ Google จะแสดง Title บนหน้า SERPs แค่ 70 ตัวอักษร ถ้ายาวเกินนั้นมันตัดทิ้งไม่แสดงให้เห็น … นั่นสื่อเป็นนัยยะได้ว่า Google มันไม่ชอบให้ยาวเกินไป)
อย่าลืมใส่ Keyword ลงไปใน Title Tags (มันสำคัญมาก)
แต่ อย่า Spam ใส่ Keyword (ลงไปในไตเติ้ล … เพราะเกิ้ลเค้าไม่ชอบ)
ถ้าเป็นไปได้ หาก ใส่ Keyword ในตำแหน่งต้นๆ ของ Title Tags ได้ ก็จะดีมาก
ควรตั้งชื่อ Title Tags สำหรับคนอ่าน (ไม่ใช่ตั้งเพื่อจะเน้นสำหรับ Google อย่างเดียว)
แพทเทินที่ดี ต่อการตั้ง Title Tags คือ “Keyword Rich Title | Brandname”
ไม่จำเป็นว่าต้องเอา เพียงแค่เฉพาะ Keyword เท่านั้นมาตั้งเป็นชื่อ
แต่ควรตั้งชื่อ Title Tags อย่างสร้างสรรค์ (ตั้งให้อย่างมีชั้นเชิง ดูมีกึ๋น)

การตั้งชื่อ Title Tags อย่างชาญฉลาด จะมีผลเป็นอย่างมากในการช่วยเพิ่มค่า CTR (Click Throught Rate) ซึ่งค่า CTR นี้เอง แม้เหล่าผู้เชี่ยวชาญ SEO ในต่างประเทศ จะออกมาบอกว่า มันไม่ใช่ปัจจัยที่ Google นำมาใช้จัดอันดับเว็บ แต่ผมมีความเชื่อส่วนตัว ว่า Google นำมาใช้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับการจัดอันดับในหน้าแรก)

ผมขอยกตัวอย่าง แบบง่ายๆ ที่เห็นได้ชัดๆ ดูจากภาพ ใน Keyword “การทำ SEO

การทำseo

จากภาพ เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่า

1. ตัว Keyword ต้องมีอยู่ใน Title และถ้าจะให้ดีคือ วางอยู่ตำแหน่งแรกๆ (ตำแหน่งต้นๆของ Title)

2. ถ้าจะทำ Keyword “การทำ SEO” ไม่จำเป็นว่าต้องตั้งชื่อแค่ “การทำ SEO” เฉยๆ

3. การตั้งชื่อ Title ที่มันชวนให้คลิก (แต่ไม่ Over จนเกินไป) เป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยเพิ่มค่า CTR ได้

ตัวอย่างการตั้งชื่อ Title อย่างมีกึ๋น

เช่น ผมตั้งชื่อโพสว่า “การทำ SEO ให้เว็บติดอันดับ 1 บน Google ด้วยเงิน 0 บาท

มีแฟนเพจ ได้ Inbox มาบอกว่า … “ขนาดผมรับทำ SEO ได้อ่าน Title คุณแล้ว ยังต้องคลิกเข้ามาเลย !!
(แน่นอนว่า ชื่อที่ผมตั้ง มันให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกที่ ท้าทาย หรือ ชวนน่าสงสัย … ตั้งชื่ออย่างมีชั้นเชิง)

4. ในยุคสมัยนี้ เป็นยุคแห่ง Semantic Search ดังนั้น การตั้งชื่อ Title ควรมองให้กว้างกว่าแค่ Keyword หลัก

การทำseo-2

จากสถิติของ ► Ranking Factor 2015 ◄ เว็บที่ติดอันดับหน้าแรก จะมีค่า CTR เฉลี่ยอยู่ที่ 9%
โดยที่ อันดับ 1 ค่า CTR เฉลี่ยจะอยู่ที่ 32% และ อันดับ 10 ค่า CTR เฉลี่ยจะอยู่ที่ 3%

กล่าวโดยสรุปคือ

ในเรื่องของ Onpage SEO การตั้งชื่อเว็บหรือชื่อบทความ (Title) ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด เป็นอันดับ 2 รองมาจาก Content ส่วนตัวแล้วสำหรับผม มองว่า Title Tags มันเปรียบเสมือน เข็มทิศ ที่จะช่วยนำทางให้กับ Google ในการจัดอันดับเว็บไซต์ ในขณะเดียวกัน ถ้าคุณนำมาประยุกต์ มันก็จะสามารถกลายเป็นข้อความโฆษณา เพื่อใช้เชิญชวนให้ผู้ค้นหาคลิกเข้าเว็บเราได้

ถ้าคิดจะปรับ Onpage SEO แล้วละก็ อย่าลืมให้ความสำคัญกับ Title Tags ให้มากๆ หาไอเดียตั้งชื่ออย่างสร้างสรรค์

พื้นฐาน On-Page SEO #3 : More Content ยิ่งมาก ยี่งดี

ในอดีตเรามักจะได้ยินคำกล่าวในทำนองที่ว่า “อัดบทความไปเยอะๆ หลายๆบทความ ช่วยได้ !!
ในปัจจุบันเราอาจจะได้ยินคำกล่าวทำนองที่ว่า “บทความขอให้คุณภาพ ไม่จำเป็นต้องมีมากก็ได้
ส่วนตัวเราผู้ฟัง ก็คิดทำนองที่ว่า “ตกลงจะเอาไงกันแน่ว่ะ … กูสับสน!!

ผมขอคลายความสับสน ของผู้ที่อาจกำลังสับสน ในเรื่องของ “More Content” ดังนี้ครับ

More Content ยิ่งมากยิ่งดี ในที่นี้ผมขอแยกเป็น 2 ส่วน
– ในมุมมองของ Quality : คุณภาพ Content ยิ่งมากยิ่งดี
– ในมุมมองของ Quantity : จำนวน Content ยิ่งมากยิ่งดี

1. คุณภาพของ Content (Quality)

นอกเหนือจากประเด็นในเรื่องของ Relevant หรือ ความสอดคล้องกับ Keyword แล้ว
ในเรื่อง Onpage ผมเชื่อว่ายังมีนักทำ SEO หลายคน (โดยเฉพาะมือใหม่) ที่มีความเข้าใจว่า …

  • การเขียนบทความยาวๆ มี Text มากๆ
  • การเขียนบทความที่ Unique ไม่ได้ Copy ใครมา
  • การใส่รูปเยอะๆ หรือ ใส่คลิปวีดีโอลงไปด้วย ประกอบในเนื้อหา
  • การใส่ Internal Links ให้มีการเชื่อมโยงระหว่างหน้าต่างๆในเว็บ

แล้วจะทำให้ Google ชอบ !! Google จะมองว่า Content เรามีคุณภาพ

เทคนิคที่กล่าวมาข้างต้นนั้น … ต้องยอมรับว่ามันเป็น เทรนด์การทำ SEO ที่กำลังนิยมในปัจจุบัน ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงนั่น … มันยังถือว่าไม่ตอบโจทย์ทั้งหมด!!  …เพราะเทคนิคเหล่านั้น มันใช้ได้กับเฉพาะ เว็บที่จัดอยู่ในลักษณะรูปแบบของ Blog

ใครที่กำลังหลงใน SEO Trend ถ้าได้อ่านบทความนี้แล้ว ลองปรับความคิดใหม่นะครับ ^_^

เพราะตัวผมเอง ก็เคยคิดแบบนี้มาก่อน แต่ภายหลังผมเกิดความสงสัย และ ลองตั้งคำถามกับตัวเองดูว่า …

– ถ้าเป็นเว็บไซต์ประเภท Ecommerce เว็บขายของ แล้วจะปรับ SEO Onpage ยังไงดี ?
– ถ้าเป็นเว็บบริษัท ที่ไม่ค่อยมีข้อมูล ไม่มี Text มากมายที่จะนำมาใส่ในเว็บ แล้ว SEO Onpage จะทำแบบไหน ?
– ทำไมบางเว็บ ดูแล้วไม่เห็นมีบทความยาวๆเลย กลับติดหน้าแรกใน Google ได้ ?
– ทำไมบางเว็บ Copy บทความจากเว็บอื่นมาแบบทั้งหมด กลับติดหน้าแรกใน Google ได้ ?

ข้อสงสัยเหล่านี้ ผมได้คำตอบ จากการศึกษา คู่มือ  Quality Rater Guidelines (อย่างละเอียด)
ซึ่งผมได้ทำบทสรุปไว้คร่าวๆ ในบทความ ► Quality Content ในสายตา Google (ตอนที่ 2)

คุณภาพของ Content ในแต่ละหน้าเว็บหนึ่งๆ Google จะตัดสินจากการดูว่า เนื้อหาที่นำเสนอนั้น ตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์ของการสร้างหน้าเว็บนั้นๆขึ้นมา มากน้อยแค่ไหน และมันมีประโยชน์ มีคุณค่า หรือ ตอบโจทย์ต่อผู้ค้นหาแค่ไหน หากเทียบกับเว็บอื่นๆ (ในคำค้นหาเดียวกัน)

โอเคผมเข้าใจ แต่ผมไม่เชื่อหรอก … แล้ว Google มันจะรู้ได้ไงว่า เว็บไหนตอบโจทย์ เว็บไหนดีจริง
บทความไหนสุดยอด  เป็นคำตอบจริงๆของคนค้นหา … ของแบบนี้มันต้องให้คนที่เข้าเว็บมา เป็นผู้ตัดสินเองสิ !!
ถูกต้องแล้วครับ นั่นหมายถึง ผู้ประเมินคุณภาพของเว็บ คุณภาพของเนื้อหา ก็คือคนเข้าเว็บ (Visitor) จริงๆนั่นเอง

อย่าดูถูกเกิ้ล” … อารมณ์ประมาณดูคลิป #อย่าดูถูกกู ของหม่อม (ขอไม่เอาคลิปแปะนะ ไปค้นดูเอง)

อย่าลืมว่า … ทุกวันนี้ Google พยายามที่จะหาทางคิดให้เหมือนมนุษย์มากที่สุด ด้วยเหตุผลนี้เอง Google จึงมีปัจจัยกลุ่มหนึ่งที่ (น่าจะ) นำมาใช้เป็นส่วนช่วยในการจัดอันดับเว็บ ที่เรียกว่า “User Signal” หรือ “สัญญาณจากพฤติกรรมของผู้ใช้งาน” (SEO ฝรั่ง เค้าใช้คำว่า “Dwell Time“)

ซึ่งในที่นี้ คือ ข้อมูลสถิติต่างๆของคนค้นหาที่เข้าเว็บ (Visitor) นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น
ค่า CTR , Bounce Rate , Time on Site , Page Views , Behaviour Flow

(ส่วนตัวแล้ว ค่า User Signal นี้ ผมมองว่า มันน่าจะมีส่วนเชื่อมโยงกับปัจจัยในกลุ่มของ Social Signal ด้วยนะ เช่น การ Like, การ Share เป็นต้น เพราะถือเป็น พฤติกรรมของ User เหมือนกัน)

ผมขออนุญาตนำโพสของ อ.ตาม แห่ง อาศรมลาปเป็ด ปรมจารย์ด้าน SEO ของไทย
ที่ได้แนะนำไว้ถึงเรื่อง “การวัดค่าคุณภาพของเว็บไซต์” มานำเสนอนะครับ

เว็บคุณภาพ

ที่ อ.ตาม ได้แนะนำจะดูจาก Alexa แต่สำหรับ Google เอง ค่าสถิติต่างๆในกลุ่ม User Signal นี้
เราสามารถดูได้จาก Google Search Console และ Google Analytic นั่นเอง

(นี่เป็นอีกเหตุผล ที่ว่าทำไมเค้าถึงแนะนำคนทำ SEO ควรใช้เครื่องมือสองตัวนี้)

(อ.ตาม เปิดคอร์สสอน SEO ทุกเดือนนะ ใครสนใจเรียน ติดต่อได้ที่เพจ ► อาศรมลาปเป็ด SEO School)

แม้จะยังไม่มีการยืนยัน เป็นที่แน่นอนว่า Google ได้ใช้ค่าสถิติเหล่านี้ ไปใส่ใน Algorithm แล้วนำมาใช้ เป็นปัจจัยหนึ่งในการจัดอันดับเว็บไซต์ … แต่มีคนทำ SEO บางคน บางกลุ่ม (รวมถึงตัวผมด้วย) ที่มีความเชื่อว่า “User Signal” นี่แระ ใช่เลย … มันช่วยเรื่องการจัดอันดับเว็บอย่างแน่นอน

มีน้องแฟนเพจ คนหนึ่ง ได้ Inbox มาถามว่า พี่ค่ะ ทำไมเว็บพี่ หนูเข้ามาแล้ว … มันออกยากจัง ยังกะเขาวงกต หรือ กาวดัก(ตัว)หนู เลยนะค่ะ ผมก็หัวเราะ แล้วส่ง /smile ไปสั้นๆ พร้อมกับคิดในใจว่า หึหึ…เป็นไปตามแผน

นั่นเพราะ เทคนิคการใส่ Internal Link (อย่างมีสติ) เพื่อการเชื่อมโยงเนื้อหาระหว่างกันภายในเว็บ … ซึ่งมันจะมีส่วนช่วยในเรื่องของ Behaviour Flow และ Time on Site ช่วยเพิ่มสัญญาณบอก Google ว่า เว็บนี้มีคุณภาพ

กล่าวโดยสรุป

พวกเราคงจะเคยได้ยิน และเข้าใจกันในทำนองว่า
– Google ชอบ บทความยาวๆ
– Google ชอบหน้าเพจที่มีการ ใส่รูป ใส่คลิป
– Google ชอบบทความที่ให้ประโยชน์ต่อผู้อ่าน ดูมีคุณค่า มีความเชี่ยวชาญ
– Google ชอบเห็นการใส่ Internet Links เชื่อมโยงระหว่าง Content แบบฉลาดๆ

แท้จริงแล้ว คำกล่าวเหล่านั้น มันไม่ใช่ Google ชอบ หากแต่มันจะช่วยเพิ่มค่า Time on Site
(ระยะเวลาที่ Visitor อยู่บนเว็บของเรา) ซึ่งเป็นปัจจัยในกลุ่ม User Signal นั่นเอง

ในการทำ SEO … คุณภาพ Content ยิ่งมีมาก ยิ่งดี แต่ต้องมาก ในทางสร้างสรรค์ และมีประโยชน์ ^_^ (don’t be wordy , be useful)

2. จำนวนของ Content (Quantity)

จำนวนของ Content ยิ่งมากยิ่งดี ในที่นี้ จะกล่าวถึงในแง่ของ จำนวน Content รวมของเว็บไซต์

ในการเข้ามาเก็บข้อมูล (Crawling) ของเว็บเรานั้น Google จะเก็บข้อมูลทั้งเว็บ เป็นหน้าๆไป ทุกหน้า!! ลองนึกภาพ … Google เข้ามาอ่านเว็บเราในลักษณะเหมือน คนกำลังอ่านหนังสือทีละหน้าๆ จนจบเล่ม เมื่ออ่านจบ ก็มาประมวลผล ว่า แต่ละหน้าจัดอยู่ในประเภทไหน และมีหน้าที่อะไร คนทำเว็บสร้างหน้านี้มาเพื่ออะไร

ยกตัวอย่างเช่น
– หน้า HOME หน้าแรก เป็นฐานสำหรับเชื่อมโยงกับหน้าอื่นๆ
– หน้า About / หน้า Contact / หน้า FAQs / ฯลฯ เป็น ส่วนให้ข้อมูลของเว็บไซต์ (Site Infomation Pages)
– หน้า Service เป็นหน้าที่ให้ข้อมูลบริการ
– หน้า Products Categories เป็นหน้าที่รวมข้อมูลสินค้า จัดแบ่งตามแต่ละหมวดหมู่
– หน้า Product เป็นหน้าที่ให้ข้อมูลสินค้าแต่ละตัว
– หน้า Catagories Blog เป็นหน้าที่รวมข้อมูลของบทความ จัดแบ่งตามแต่ละหมวดหมู่
– หน้า Blog Post เป็นหน้าข้อมูลเนื้อหาของแต่ละบทความ
– หน้า Portfolios / Gallary เป็นหน้ารวมผลงาน รูปภาพ

หน้าเว็บเพจแต่ละหน้าย่อมมี Content (เนื้อหา) และมีวัตถุประสงค์ของการสร้างหน้านั้นๆขึ้นมา ต่างกันออกไป Google เก็บข้อมูลหมดทุกหน้า แล้วนำมาประมวลผล และประเมินออกมาว่า ตกลง!! สรุปเว็บไซต์นี้ มันเกี่ยวกับอะไรกันแน่ ต้องการนำเสนอเกี่ยวกับอะไร

นอกจากนี้ Google มันยังประเมินเนื้อหาของแต่ละหน้า อย่างละเอียดอีกด้วย ดังนั้น การใส่ข้อมูลที่ครบถ้วน ชัดเจน และมากพอ ลงไปในเว็บไซต์ จะช่วยให้ Google เข้าใจเว็บของเราได้ดีขึ้น

การเพิ่มปริมาณจำนวนของ Content ให้กับเว็บไซต์

ทีนี้ ถ้าพูดถึงในเรื่องของ การเพิ่มปริมาณจำนวนของ Content ให้กับเว็บไซต์ เราจะเพิ่มได้ยังไง

การเพิ่มเนื้อหาเข้าไปในเว็บ จริงๆแล้วสามารถเพิ่มได้หมดกับเว็บทุกประเภท แต่สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ เรื่องของความเหมาะสม และ ความเกี่ยวข้องสอดคล้องของตัวเนื้อหา ที่เราจะใส่เพิ่มเข้าไป

เอาง่ายๆ ผมอยากให้มอง ตามวัตถุประสงค์ของตัวเว็บ หรือ ประเภทของเว็บ เช่น
– หากเว็บประเภท Blog … เพิ่มจำนวน Content ก็คือ การเพิ่มบทความ หรือ เพิ่มหมวดหมู่ของบทความ
– หรือ เว็บประเภท Ecommerce …  เพิ่มจำนวน Content ก็คือ เพิ่มจำนวน Product สินค้า , เพิ่มโปรโมชั่น
– หรือ เว็บประเภท บริการ / เว็บบริษัท … เพิ่มจำนวน Content ก็อาจจะ เพิ่ม Portfolio หรือ ข่าวสารกิจกรรม ของบริษัท
– หรือ การเพิ่มเมนู Blog (บทความ) เข้าไปในเว็บประเภท Ecommerce หรือ เว็บบริการ หรือ เว็บบริษัท

เวลาทำเว็บ ผมมักจะแนะนำลูกค้าให้เพิ่มเมนู Blog เข้าไปด้วย เพื่อช่วยในเรื่อง SEO และช่วยแนะนำในการหาไอเดีย หาหัวข้อ (Topic) มาเขียนเป็นบทความใส่ในลงบล็อก โดยเน้นให้เกี่ยวข้องสอดคล้องกับตัวสินค้าหรือบริการ

ข้อดีของการเพิ่มจำนวน Content ให้กับเว็บ ในแง่ของ SEO

1. ช่วยเพิ่ม Traffic

ถ้าสมมติ มี 2 เว็บ ที่เขียนบทความเกี่ยวกับ การทำ SEO โดยทั้งสองเว็บ มีบทความที่มีคุณภาพ ทั้งคู่
เว็บ A มี 5 บทความ , เว็บ B มี 35 บทความ … คุณคิดว่าเว็บ A หรือ B มีโอกาสที่มีคนเข้าเว็บมากกว่ากัน ?

แน่นอนว่า เว็บ B ที่มีจำนวนบทความที่เยอะกว่า หลากหลายกว่า ย่อมมีโอกาสสร้าง Traffic ได้มากกว่า (นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมเว็บใหญ่ๆ อย่าง Sanook , Kapook , Dek-D มีแข่งกันอัพเดทบทความ เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้ Traffic นั่นเอง)

2. ช่วยเพิ่ม Keyword ที่จะเล่นให้หลากหลายขึ้น

จำนวนบทความที่มากขึ้น ย่อมเพิ่มโอกาสในการทำ SEO กับ Keyword ที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะกับ LSI Keyword ซึ่งในสมัยนี้ Semantic Search มีบทบาทมากขึ้น ดังนั้น นักทำ SEO จึงควรใช้โอกาสนี้ ในการทำอันดับกับ Semantic Keyword เพื่อช่วยหนุน Main Keyword ทางอ้อม

3. ช่วยส่งสัญญาณบอก Google

3.1 ถ้า Content มีความสอดคล้องกับ Keyword จะ เป็นการตอกย้ำ Google ว่าเว็บฉันเกี่ยวกับ [keyword]
3.2 การมี Content มากๆ ที่พูดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นประจำ สม่ำเสมอ เป็นพื้นฐานของการเป็น Authority ในเรื่องนั้น
3.3 การมี Content มากๆ (และมีคุณภาพ) อัพเดทอย่างสม่ำเสมอ Google จะมองว่าเรา เป็นผู้เชี่ยวชาญ

ความตอนนึงใน Google Quality Rater กล่าวถึงเรื่อง Expert Writer ไว้ ดังนี้

” High quality pages and websites need enough expertise to be authoritative and trustworthy on their topic. Keep in mind that there are “expert” websites of all types, even gossip websites, fashion websites, humor websites, forum and Q&A pages, etc. In fact, some types of information are found almost exclusively on forums and discussions, where a community of experts can provide valuable perspectives on specific topics.

Some topics require less formal expertise. Many people write extremely detailed, helpful reviews of products or restaurants. Many people share tips and life experiences on forums, blogs, etc. These ordinary people may be considered experts in topics where they have life experience. If it seems as if the person creating the content has the type and amount of life experience to make him or her an “expert” on the topic, we will value this “everyday expertise” and not penalize the person/page/website for not having “formal” education or training in the field.”

สรุปได้ว่า

คนที่เขียนในลักษณะ Extremely Detailed (โครตละเอียด .. เช่น ป๋า Niel Patel หรือ JoJho)
คนที่เขียนรีวิวสินค้า/สถานที่ ที่ลักษณะให้ประโยชน์ต่อคนอื่น
คนที่แชร์เทคนิค แชร์ประสบการณ์ แชร์ความรู้ ผ่านทางฟอรั่มหรือบล็อก

คนธรรมดาๆที่สร้าง Content ขึ้นมาในปริมาณและคุณภาพที่น่าจะทำให้ตนเองกลายเป็น “ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆที่เขียนนำเสนอ … Google จะพิจารณาจัดกลุ่มคนเหล่านี้ ว่าเป็น “Everyday Expertise

กล่าวโดยสรุปในเรื่อง More Content

John Mueller (Google Webmaster Trends Analyst) ได้เคยกล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องของ Content

Google ไม่ได้มีข้อจำกัด “ขั้นต่ำสุด” หรอกว่าเท่าไหร่ถึงดี ทั้งในเรื่องของคุณภาพบทความ ความยาวบทความ หรือ จำนวนบทความ แต่ “In most cases, quality is better than quantity.” (เน้นคุณภาพดีกว่าเน้นปริมาณ) และที่สำคัญคือ “making sure that your site is the absolute best of its kind.” (ทำเว็บคุณให้มันดีที่สุด)

johnmu-answer

บทสรุปส่งท้าย

ผมหวังว่า บทความเจาะลึก 3 เทคนิคพื้นฐาน On-Page SEO สำคัญในปี 2016 นี้ จะทำให้ท่านผู้อ่าน ที่ยังไม่เข้าใจ คอนเซ็ป พื้นฐานง่ายๆใน การปรับ Onpage ได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น … ยิ่งเริ่มต้นปี 2016 นี้ Google พึ่งจะอัพเดท Core Algorithm ไป เราไม่รู้ว่าอนาคต เทคนิคต่างๆที่ใช้ได้ในวันนี้ (หรือในอดีต) จะยังใช้ได้ผลหรือเปล่า ดังนั้นสิ่งที่คนทำ SEO ควรยึดไว้ให้มั่น จับไว้ให้แน่น ก็คือ “ความเข้าใจในพื้นฐานของการทำ SEO

และ 3 ปัจจัย On-page SEO ตัวที่ผมมองว่า มันสำคัญที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2016 นี้ คือ

  1. User Experience (สร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดี ต่อผู้ใช้ – ผู้ชม)
  2. Title Tags (การตั้งชื่อ Title อย่างสร้างสรรค์)
  3. Content (อัดแน่นด้วยเนื้อหา ทั้งคุณภาพและปริมาณ)

สุดท้าย … ผมอยากให้ท่านทั้งหลาย เข้าใจตรงกันว่า

การทำ SEO นั้นไม่ใช่แค่ การใส่ “Keyword” ลงไปในเว็บ
การทำ SEO นั้นไม่ใช่แค่ การสร้าง “Backlinks”
การทำ SEO นั้นไม่ใช่แค่ การเขียนบทความยาวๆ
การทำ SEO นั้นไม่ใช่แค่ทำเพียงอย่างเดียว แล้วมันจะเห็นผล
ไม่ว่าจะเน้นทาง Onpage หรือ Offpage ล้วนต้องทำด้วยกัน ควบคู่กันไป

SEO มันเปรียบเหมือน การต่อจิกซอว์ … แต่ละเทคนิค แต่ละปัจจัยที่ส่งผล ต่อการจัดอันดับ … คือจิกซอว์แต่ละตัว ที่เราจำเป็นต้องค่อยๆ ค้นหา แล้วนำมาประกอบรวมกัน จนทำให้ภาพจิกซอว์นั้น ออกมาดูสมบูรณ์ที่สุด (เท่าที่ความสามารถเราจะทำได้)

JoJho
คนทำเว็บนอกคอก

มีเรื่อง … อยากเล่า

เมื่อวานผมได้โพสลง Facebook Page เกี่ยวกับ Keyword “รับทำ SEO” อ้างถึง พี่บี กิตติคม (@tikanaht) ซึ่งท่านเป็นถึงระดับปรมจารย์ในวงการ SEO ของไทยอีกท่านนึง และเป็น กรรมการผู้จัดการ ของ บริษัท NetdesignRank

ส่วนตัวแล้วผมไม่รู้จักกับพี่บี มาก่อน … เมื่อโพสไปปุ๊บ ไม่นาน พี่บีก็ Inbox มาทันที กล่าวขอบคุณและ บอกผมว่า ที่ผมโพสไป เกี่ยวกับ lnwshop นั้น … พี่เค้า “กำลังทดสอบการทำ SEO กับเว็บ lnwshop อยู่

ที่นำเรื่องนี้มาเล่า เพราะอยากให้ทุกคนเห็นว่า “ขนาดระดับปรมาจารย์ ที่อยู่ในวงการ SEO มากว่า 10 ปี ทุกวันนี้ ยังต้องทดสอบ ทดลอง หาเทคนิคต่างๆ ในการทำ SEO อยู่เลย … นับประสาอะไรกับพวกเรามือใหม่

ดังนั้นแล้ว คนทำ SEO ต้องรู้จักเปิดใจ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ
อย่าทำตัวเป็น … “แก้วน้ำที่คว่ำอยู่กลางสายฝน” กันนะจ๊ะ ^_^

แก้วที่คว่ำอยู่กลางสายฝน

About author

WebBastard.Net

WebBastard.Net

เว็บบล็อกที่จะมา เม้าท์มอย + สอน + แชร์เทคนิค การทำ SEO , Social Media Marketing , Content Marketing , การทำเว็บไซต์ด้วย Blogger และ WordPress รวมถึงการทำ Amazon Affiliate ในลักษณะ "การเล่าสู่กันฟัง" จากประสบการณ์ในการทําเว็บแบบมันส์ๆ ของ JoJho - คนทําเว็บนอกคอก

อยากอ่านต่อ ? ... ขอแนะนำ

คำถามที่พบบ่อย

คุณเห็นรูปข้างบนแล้ว ในใจคิดอะไร ? คิดแบบผมหรือเปล่า ? สำหรับผม … ผมคิดว่า “รูปอะไรของมันว่ะ?” … เห็นรูปแล้วมันเกิดเป็น “คำถาม” ขึ้นมาในใจทันที 555+ … สำหรับคำถามที่พบบ่อย ผมยังไม่พบคำถามที่พบบ่อย ไว้รอคนถามเยอะๆแล้ว