Anchor Text เทคนิคที่คนทำ SEO (โดยเฉพาะรุ่นเก๋าๆ) รู้จักกันดี เพราะมันเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอน ของการสร้างลิงค์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Keyword-Rich Anchors หรือการใส่คีย์เวิร์ดลงไปในลิงค์นั่นเอง ซึ่งมันสามารถทำให้คุณพบกับบันปลายชีวิต คือ สวรรค์ หรือ ไม่ก็นรก สำหรับการทำแคมเปญ SEO เพราะหาก ถ้าคุณใช้ Anchor Text แบบผิดๆ อันดับอาจจะร่วงหายไปจาก Google แต่ถ้าคุณใช้อย่างสร้างสรรค์ ไม่แน่ว่าอันดับอาจจะพุ่งขึ้น จนต้องนึกสงสัยว่า เอ๊ะ … หรือเทวดาท่านมาดลใจ
สำหรับ SEO มือใหม่ วันนี้ผมจะมาแนะนำเกี่ยวกับ Anchor Text แบบเจาะลึกกันสักหน่อย (หากอ่านแล้วงงๆก็ข้ามไป)
(เป็นการผสมผสานระหว่างการอ่านมาจากเว็บฝรั่ง รวมกับ ประสบการณ์ที่เคยทำส่วนตัวแบบมั่วๆกันไปนะครับ)
ผมเชื่อว่ามีหลายคนแน่นอน ยังไม่รู้เลยว่า สิ่งที่ผมกำลังพูดถึง มันคืออะไร ? ก่อนอื่นไปทำความรู้จักกับมันก่อน
Anchor Text คืออะไร ?
คำว่า Anchor อ่านว่า “แอ๊ง-เข่อร์” (หลายคนอ่านผิดว่า แอนชอว์ นะ 555+ ผมละคนนึง)
คำว่า Anchor แปลตรงตัวคือ ทอดสมอ / ที่ยึดเหนี่ยว / ซึ่งยึดติด
ตามในวงการ SEO คำว่า Anchor Text ฝรั่งเค้าให้นิยามว่า
“Anchor text refers to the visible, clickable text in a hyperlink. They are the words that turn your mouse cursor into a finger-pointing hand. In modern browsers, it is often blue and underlined.”
ซึ่งมันก็หมายถึง ข้อความที่เป็น Link ใช้เชื่อมโยงระหว่างเว็บ นั่นเอง
หรือพูดกันแบบง่ายๆ มันก็คือ Text Link (ลิงค์ที่เป็นตัวอักษร)
ปกติแล้วเรามักจะพบว่า Anchor text มักจะมีความเกี่ยวข้องสอดคล้อง หรือ เป็นคำอธิบายถึงข้อมูลของ Content ที่เป็นเป้าหมายที่ถูกลิงค์ชี้ไป ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ในรูปแบบของ HTML คือ a tag เขียนได้ดังนี้
<a href=”url”>Anchor Text</a>
ยกตัวอย่างเช่น
<a href=”https://www.webbastard.net/”>คนทำเว็บนอกคอก</a>
– คนทำเว็บนอกคอก เรียกว่า Anchor text นั่นเอง
ความสำคัญของ Anchor Text
ตราบใดที่ Backlinks ยังเป็นสิ่งจำเป็นในการทำ SEO … Anchor Text ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ และต้องเรียนรู้ เพราะ Search engine algorithms ให้ความสำคัญกับมันมากเป็นพิเศษ
– ในอดีตเจ้า anchor text นี่เองที่เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่ทำให้ Google เข้าใจว่าเว็บไซต์ของเราเกี่ยวข้องกับอะไร
– ในปัจจุบัน มันกลายเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับ Google ในการตรวจจับและลงโทษพวก SPAM
ถึงแม้ผมจะกล่าวเช่นนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่า anchor text จะไร้ความหมาย!!
ในทางตรงกันข้าม มันกลับทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และจำเป็นต้องรู้ให้ลึกซึ้งมากขึ้น (เพื่อความอยู่รอด)
เมื่อพูดถึง Backlinks เราจำเป็นต้องกล่าวถึง Google Penguin
อัลกอริทึมที่มาจัดการกับ Backlinks โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการสร้างลิงค์แบบสแปม ….
หลายคนอาจจะสงสัย แล้ว Penguin มันจะรู้ได้ไงว่า
สร้างลิงค์แบบไหนเป็นธรรมชาติ และสร้างลิงค์แบบไหนถึงมองว่า SPAM
คำตอบง่ายๆ ก็คือมันดู ANCHOR TEXT นั่นเอง
หลักการทำงานของเพนกวิน อธิบายแบบง่ายๆ
1. เราสร้าง Backlink
2. Google Bot เข้ามาเก็บ Backlink ที่เราสร้าง
3. Google Bot เอา Backlink ไปใส่ใน Database ของเว็บที่เราชี้ไป หรือเรียกว่า “Link Profile”
วิธีการเช็คว่า Google มันอ่าน ข้อมูล Backlink และสร้างเป็น Link Profile สำหรับเว็บของเราหรือยัง ทำได้ง่ายๆโดย
– เอาเว็บเราเข้าไปสมัครใน Google Search Console (หรือชื่อเดิม Google Webmaster Tool)
– จากนั้นไปที่ Search Traffic -> Links to Your Site (ตามภาพ)
ที่นี้เราจะรู้ได้ไงว่า Google Penguin มองว่าเรากำลังสแปม .. ง่ายๆ
มันก็จะวิเคราะห์ “Link Profile” แล้วเอามาเปรียบเทียบกับ Keyword ที่เราทำ Onpage บนเว็บของเรา
ยกตัวอย่าง สมมติ ว่าผมเล่น KEYWORD “การทำ SEO”
แล้วบังเอิญว่า Anchors Text Link ของผมที่ชี้มาที่เว็บ
100% เป็นคำว่า “การทำ SEO” … เช่น ผมไปสร้าง
<a href=”https://www.webbastard.net/”>การทำ SEO</a>
แบบนี้ Google จะมองว่าเว็บผมสแปมแน่นอน และจะถูกลงโทษทันที … เพราะมันจะดูออกว่าผมพยายามที่จะดันอันดับในคีย์ “การทำ SEO” ด้วยการสร้างลิงค์แบบ “keyword-rich anchor text” (คือไปเน้นใส่คีย์เวิร์ดลงไปในลิงค์) นั่นเอง
ดังนั้น ถ้าไม่อยาก โดน Google ทำโทษ คุณจำเป็นต้องเข้าใจว่า
จะใช้ Keyword-rich anchors “อย่างไร” และ “เมื่อใด”
(พูดง่ายๆ ก็คือ สร้างลิงค์ยังไงให้แนบเนียนดูเป็นธรรมชาติที่สุด)
เมื่อ JoJho โดนแกล้ง มีคนยิง Spam Links ใส่เว็บ
หลายคนอาจคิดสงสัย แบบนี้ ถ้าโดนแกล้งแบบมีคนยิงลิงค์ SPAM มาใส่เว็บเรา ก็แย่เลยสิ … ทำไงละทีนี้ แรกๆผมเองก็กลัวและกังวลอยู่ไม่น้อย แต่หลังจากได้ฟัง เจ้าหน้าที่จาก Google มาพูดถึงเรื่องนี้ ก็อุ่นใจขึ้นมา John Mueller แห่ง Google Webmaster Central ได้ออกมากล่าวว่า …
“Google ฉลาดพอทีจะแยกแยะว่าคุณโดนแกล้ง เรื่อง Spam Backlinks ถ้าเป็นผม ผมจะไม่กังวลเรื่องนี้”
หลังจากนั้นไม่นาน ผมก็โดนกับตัวเอง … ตามภาพ (เหมือนสวรรค์ส่งบททดสอบความไว้ใจที่ผมมีต่อลุงจอน)
ผมโดนกับเว็บหลัก เว็บหาเงินหางานของผมคือ บริการรับทำเว็บ www.jojho.com
โดนไปไม่มาก …. แค่ประมาณ 2 ล้านลิงค์ T___T (ปัจจุบันก็ยังคงอยู่ ไม่ได้ไปถอดออก เก็บไว้เป็นที่ระทึก) (ภูมิใจสาดดเว็บกูมี 2 ล้าน backlink เหอะๆ)
แต่ …. อันดับต่างๆในเว็บผมก็ยังอยู่ปกติดี ไม่ได้ร่วงหายไปแต่อย่างใด
ก็แสดงว่า Google ฉลาดจริง อย่างที่ ลุงจอนแกได้กล่าวไว้ …
หากแต่ถ้าใครตรวจพบว่า โดนแกล้งแล้ว อันดับร่วง!! คุณสามารถเข้าไปแก้ไขได้เองได้
โดยการแจ้งกับทาง Google ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า ► Disavow links
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ► Disavow backlinks
อ่านเพิ่มเติมแบบเป็นภาษาไทย ► ปฏิเสธลิงก์ย้อนกลับ
รูปแบบของ Anchor Text
กลับมาเข้าประเด็นหลักของเรากันต่อ … ก่อนจะสร้าง Anchor Text Like Profile แบบให้ดูเป็นธรรมชาติ
คุณจำเป็นต้องรู้ก่อนว่า Anchor Text มีกี่แบบ มีอะไรบ้าง … มาศึกษาไปพร้อมๆกันเลย
1. Exact Match Anchors (แอ๊งเข่อร์ แบบ Keyword ตรงตัว!!)
Exact Match Anchors คือการสร้างใช้ Keyword มาทำเป็นลิงค์แบบตรงตัว
จัดว่าเป็น King of All Anchor Text เลยก็ว่าได้ มีพลังมีความแรงสูงสุดในการช่วยดันอันดับในการทำ SEO
(แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีพลังแรงสูงในการช่วยดันอันดับให้ร่วง เช่นกัน หากใช้เยอะเกินไป)
ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าผมจะเล่นคีย์ “การทำ SEO” Exact Match Anchors ก็จะเป็น
<a href=”https://www.webbastard.net/”>การทำ SEO</a>
2. Branded Anchors (แอ๊งเข่อร์ แบบ ชื่อแบรนด์)
แบรนด์นี้ ก็อาจจะเป็น ชื่อร้าน ชื่อเว็บ ชื่อบล็อก ยกตัวอย่างเช่น
– Webbastard หรือ คนทำเว็บนอกคอก
Branded Anchor นี้นับว่ามีพลังความแรงสูงรองจาก Exact Match Anchor
เพราะว่า Google ชอบให้เราสร้างแบรนด์ แต่ก็ไม่ควรใส่สะแบบร้อยทั้งร้อย
3. Generic Anchors (แอ๊งเข่อร์ แบบ ทั่วไป)
Generic Anchors เป็นลักษณะ Text ในเชิง เรียกแขก หรือ Call-to-Action (CTAs)
ยกตัวอย่างเช่น
– “คลิก”
– “ที่นี่”
– “Click Here”
– “Enter”
– “Go here”
4. Naked Link Anchors (แอ๊งเข่อร์ แบบ URL)
Naked Link หมายถึง เอา URL มาใช้เลย ยกตัวอย่างเช่น
– https://www.webbastard.net/
– https://www.webbastard.net
– www.webbastard.net
– webbastard.net
5. Brand + Keyword Anchors (แอ๊งเข่อร์ แบบผสมระหว่างแบรนด์กับคีย์เวิร์ด)
ยกตัวอย่างเช่น
สมมติ แบรนด์ผมคือ “คนทำเว็บนอกคอก / Webbastard” , keyword ที่จะเล่นคือ “เทคนิคการทำ SEO”
Anchor Text ก็อาจจะมีหน้าตาประมาณ :
– เทคนิคการทำ SEO by Webbastard
– เทคนิคการทำ SEO ฉบับ คนทำเว็บนอกคอ
– Webbastard : เทคนิคการทำ SEO
6. LSI Anchors (แอ๊งเข่อร์ แบบ LSI Keyword)
คำว่า LSI ย่อมาจาก Latent Semantic Indexing
LSI Keyword อธิบายแบบง่ายๆคือ “ความหลากหลายของ Main Keyword”
หรือ “การเล่นคำโดยขยายความจาก Main Keyword”
ยกตัวอย่างเช่น
ถ้า Main Keyword ผมคือ “การทำ SEO” , LSI Keyword ก็อาจจะเป็น
– การทํา seo ด้วยตัวเอง
– วิธีการทำ seo ขั้นพื้นฐาน
– การทํา seo เบื้องต้น
– สอนทำ seo
– ขั้นตอนการทำ seo
– วิธีทํา seo facebook
– วิธีโปรโมทเว็บ
วิธีหา LSI Keyword นั่นจริงๆง่ายมาก คือ
1. ดูจาก Google Related Searches
2. ดูจาก Google Suggest
3. ดูจาก Google Keyword Planner
7. Partial-Match Anchors (แอ๊งเข่อร์ แบบ ใกล้เคียง Keyword)
Partial-Match Anchors จริงๆมีลักษณะคล้ายๆกับ LSI เพียงแต่เราเติมคำอื่นๆลงไป
ให้มันดูมีความเป็นธรรมชาติ เป็นการใส่คำพูดเราเข้าไปเองโดยไม่ใช้เครื่องมือ (คิดคำเองว่างั้น)
ยกตัวอย่างเช่น Keyword เราคือ “การทำ SEO” , Partial-Match Anchors ก็อาจจะเป็น
– เรียนรู้ SEO ด้วยตัวเอง
– วิธีทำ SEO อย่างมีคุณภาพ
– เทคนิค SEO สายขาว
– คู่มือการทำ SEO 2016
– มือใหม่หัดทำ SEO
– Onpage SEO คือ
– เทคนิค Offpage SEO
Partial-Match Anchors นี้นับได้ว่าเป็นการ สร้างความเนียน ได้อย่างมาก ในการสร้าง Text Link
8. Long Anchors (แอ๊งเข่อร์ แบบ ประโยคยาวๆ)
Long Anchors นี่ถือเป็นส่วนขยายของ Partial-Match Anchors ให้มันยาวขึ้นกว่าเดิม
ยกตัวอย่างเช่น
– การทำ SEO ให้ติด Google หน้าแรก
– โปรโมทเว็บให้ติดหน้าแรก Google ด้วย SEO
– เทคนิคการทำ SEO สำหรับมือใหม่
– แนวทางการทำ SEO แบบมืออาชีพ
– แนะนำเทคนิคการทำ SEO ขึ้นสูง
9. Image Anchors + NO Anchors
หากไม่พูดถึง Text แต่พูดถึงแค่คำว่า Anchors เฉยๆ ที่อยู่ในรูปแบบของ HTML
คือ <a href=””></a> , ในบางครั้งเราอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ TEXT อย่างเดียว
เพราะ “a tag” นั้นมันสามารถใช้กับรูปภาพได้ด้วย (คือใช้ รูปภาพ ทำเป็นลิงค์ นั่นเอง)
ปกติแล้ว Google จะถือเอา “alt tag” ที่เราใส่ในรูป เป็น Anchor Text เลยเรียก Image Anchors
ดังนั้น หากเราเอา Image มาทำเป็น Link โดยที่เราไม่ได้ใส่ Alt ให้รูป จึงเรียกว่า NO Anchors นั่นเอง
ยกตัวอย่าง CODE
– Image Anchors
<a href=”https://www.webbastard.net/”><img src”ที่อยู่รูป” alt=”การทำ seo”></a>
– No Anchors
<a href=”https://www.webbastard.net/”><img src”ที่อยู่รูป”></a>
การใช้ Image มาทำเป็น Link ก็ถือเป็นกลยุทธ์ที่ดีอย่างนึง โดยเฉพาะอย่างเวลาเรา “แลกลิงค์” หรืออาจจะทำในลักษณะ “ลิงค์เพื่อนบ้าน” … ก็เอา Banner มาติดก็ได้ ซึ่งเรามักจะพบเห็นกันได้บ่อยๆ กับเว็บที่หารายได้จากการรับติด Banner Ads ทั้งหลาย
กล่าวโดยสรุปผมแยก Anchor Text ไว้ 9 ประเภท (จริงๆใครจะแยกยังไงก็ได้นะ เอาที่สบายใจ)
1. Exact Match Anchors = แบบใส่คีย์ตรงตัว
2. Branded Anchors = แบบใส่แบรนด์
3. Generic Anchors = แบบทั่วไป (click here)
4. Naked Link Anchors = แบบ URL
5. Brand + Keyword Anchors = แบบผสมแบรนด์+คีย์
6. LSI Anchors = แบบ LSI
7. Partial-Match Anchors = แบบกึ่งๆใกล้เคียงคีย์ตรงตัว
8. Long Anchors = แบบยาวๆ
9. Image Anchors + NO Anchors = แบบรูปภาพ/ไม่ใช้ Anchors
Tip ในการใช้ Anchor Links ให้ดูเป็นธรรมชาติ
ผมขอแนะนำเคล็ดลับของการสร้าง Anchor Link แบบเนียนๆ ดังนี้ครับ
1. พยายามสร้างให้ดูหลากหลาย สร้างแบบสุ่ม หลีกเลี่ยงรูปแบบที่ตายตัว
หรืออย่าใช้ Anchor ประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะมากเกินไป ยกตัวอย่างจากภาพ
2. พยายามวาง Anchor Text ในเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องสอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บที่เราจะดันอันดับ
3. พยายามสร้างลิงค์ โดยหลีกเลี่ยงการใช้ Exact Match Anchors หรือใช้แต่น้อย
4. พยายามจัดแบ่งสัดส่วนแบ่ง % การใช้ของ Anchors แต่ละประเภทให้เหมาะสม
เช่น ในแคมเปญ SEO ของเรา จำเป็นต้องอัดลิงค์ตามความแข็งความโหดของคู่แข่ง สมมติเราวางแผนที่จะสร้าง BL ไว้
100 Backlinks ก็อาจจะแบ่ง Anchor Text เป็น
– Branded Anchors : 65% (65 ลิงค์)
– Naked Link Anchors : 20% (20 ลิงค์)
– Generic Anchors : 5% (5 ลิงค์)
– LSI, Partial Match Anchors : 5% (5 ลิงค์)
– Exact Match Anchors: 5% (5 ลิงค์)
1000 Backlinks ก็อาจจะแบ่ง Anchor Text เป็น
– Branded Anchors : 65% (650 ลิงค์)
– Naked Link Anchors : 20% (200 ลิงค์)
– Generic Anchors : 5% (50 ลิงค์)
– LSI, Partial Match Anchors : 8% (80 ลิงค์)
– Exact Match Anchors: 2% (20 ลิงค์)
10000 Backlinks ก็อาจจะแบ่ง Anchor Text เป็น
– Branded Anchors : 60% (6000 ลิงค์)
– Naked Link Anchors : 20% (2000 ลิงค์)
– Generic Anchors : 10% (1000 ลิงค์)
– LSI, Partial Match Anchors : 9% (900 ลิงค์)
– Exact Match Anchors: 1% (100 ลิงค์)
จากตัวอย่าง หากสมมติ เรามี Backlink 10000 ลิงค์ แต่บอกจะสร้าง Exact Match Anchors 5% ก็จะเท่ากับมี 500 ลิงค์ที่เป็น Keyword ตรงๆยิงมาเว็บเรา กรณีนี้ Google เห็นปุป ก็มีแนวโน้มที่จะมองออกเลย
ถ้า Google พูดได้ ก็อาจจะพูดว่า “เฮ้ย … มันเกินไปมั้ยเนี้ย มีตั้ง 500 ลิงค์ สงสัยนี้ คนทำ SEO ดันเองแน่ๆ …. นี่มันแบบไม่ใช่ Natural Link (ลิงค์ที่เกิดจากคนอื่นๆสร้าง) นี่น่า … เมิงหลอกกู แบบนี้ไม่นับให้โว้ยเฮ้ย !!”
หรือหากหนักหน่อย มันคงพูดว่า “แบนแม่งเย้ยยยยย … เย้!!”
ที่ยกตัวอย่างนี้ขึ้นมา ก็เพื่อต้องการสื่อให้เห็นว่า การจัดแบ่ง % จะขึ้นอยู่กับจำนวนของ Backlinks ซึ่งเราไม่ควรจะมีสูตรหรือกำหนด Pattern อะไรให้มันตายตัว เพราะการสร้าง Anchor นั้นต้องดูที่ที่เราไปวางด้วย แต่โดยสรุปรวมคือ เราควรจะวางแผนในการสร้าง Anchor Text โดยยึดหลักสำคัญ คือ “ให้มันดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด“
5. รู้จักการใช้เทคนิค Co-Occurrence มาช่วยในการวาง Anchor Text Link
พอกล่าวถึงคำว่า Co-Ocurrance คนทำ SEO หลายคนต่างต้องนึกถึง คำว่า Co-Citation ด้วยอย่างแน่นอน …
Co-Citation กับ Co-Ocurrance นี่เองที่เป็นสาเหตุที่ว่า
เฮ้ยทำไม เว็บนี้มันถึงติดหน้าแรก ทั้งๆที่ไม่มี Backlink เลย !!
แต่วันนี้ผมจะขอยังไม่อธิบายถึงสองตัวนี้ เพราะ เด้วจะยาวเกิน เอาเป็นว่า เพื่อให้ง่ายและรวบรัด
การสร้าง Anchor Text ด้วยเทคนิค Co-Ocurrance จะมีลักษณะคือ
“การเอา Keyword ที่ต้องการเล่น มาวางไว้ใกล้ๆกับ Anchor Text”
ยกตัวอย่างเช่น
สมมติเป็น Generic Anchor :
Target Keyword = “SEO คืออะไร”
Anchor Text = “คลิก”
ก็อาจจะใช้เป็น – “หลายๆคนโดยเฉพาะมือใหม่ หากยังไม่รู้ว่า SEO คืออะไร – คลิก”
สมมติเป็น Branded Anchor :
Target Keyword = “SEO คืออะไร”
Anchor Text = “คนทำเว็บนอกคอก”
ก็อาจจะใช้เป็น – “ถ้าใครยังไม่รู้ว่า SEO คืออะไร แนะนำให้ลองอ่านจากบล็อก คนทำเว็บนอกคอก”
สมมติเป็น Naked Link Anchor :
Target Keyword = “SEO คืออะไร”
Anchor Text = “www.webbastard.net”
ก็อาจจะใช้เป็น – “สำหรับคำถามที่ว่า SEO คืออะไร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.webbastard.net”
6. รู้จักใช้ Anchor ให้ถูกประเภทในแต่ละที่ ที่เราไปสร้างลิงค์
Link Building เป็นเทคนิคมาตราฐานสากลที่คนทำ SEO ทุกคนต้องใช้ (ใช้มากหรือน้อยก็ว่ากันไปตามคู่แข่ง) หลายคน เช่นตัวผม มักจะไม่ค่อยชอบสร้างลิงค์ ไม่เน้นสร้างลิงค์ ในบางครั้งผมแทบไม่ได้สร้าง Backlink เลยแต่ก็ทำอับดับได้ดี แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผมได้ทำ SEO ใน Keyword ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ทำให้พบว่า ในคีย์ที่คู่แข่งมีมาก หากไม่มี Backlink เลย อันดับจะขยับขึ้นไปได้ยากมาก … ดังนั้นบางครั้งผมก็จำเป็นต้องทำ Link Building ด้วยเหมือนกัน
การทำ SEO ที่ผมชอบทำ ถ้าพูดเป็นภาษาอังกฤษก็ประมาณ “More Rankings With Less Backlinks”
แต่มันมีหลายปัจจัย หลายสาเหตุ ถ้าอธิบายก็ยาวเลย วันนี้จึงขอกล่าวถึงเฉพาะ Anchor Text Backlinks
Power Backlink หรือ BL แบบแรงๆ สำหรับผม จะหมายถึง ลิงค์ที่มันสามารถส่งผลกระทบต่ออันดับของคีย์ที่เราเล่นได้ ซึ่งลิงค์เหล่านี้ เรายิ่งต้องให้ความสำคัญกับ Keyword-rich anchor text ให้มากๆ
• Editorial Links
Backlink ที่ได้มาอย่างเป็นธรรมชาติจากเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสอดคล้องกับเว็บของเรา ซึ่งโดยปกติมักจะได้มาจากคนอื่นๆ อ้างอิงมาถึงบทความในเว็บของเรา ซึ่งลิงค์แบบนี้ มันต้องอาศัยใช้เวลา และมันควบคุมไม่ได้ อีกทั้ง เนื้อหาเราต้องดี หรือมีความเกี่ยวข้อง พอจะทำให้คนอื่นๆลิงค์ อ้างอิงมาถึงเรา
แต่ในกรณีที่สมมติ คุณบังเอิญเป็น Editor/นักเขียน/blogger ประจำเว็บอื่นๆ หรือ ทำเว็บหลายเว็บ คุณจะสามารถสร้างบทความ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องแล้วสร้างเป็น Backlink มาที่เว็บที่จะทำอันดับในลักษณะเชิงอ้างอิงถึง ด้วยตัวเองได้
แนะนำให้ใช้เป็น : Exact Match Anchor / Partial Match Anchor
• Guest Posts / Author Profile / User Profile
ถ้าใครยังใช้เทคนิคสร้าง Backlink จาก Gust Posts อยู่ (โดยเฉพาะคนทำคีย์นอก คีย์ไทยไม่ค่อยเห็นนัก)
หรือในกรณีนักเขียน/blogger ที่เว็บมักจะมี Author Bio Box กล่องใส่แนะนำผู้เขียน ซึ่งมักจะสามารถวางลิงค์ได้
หรือกรณีเราไปสมัครสมาชิกตามเว็บต่างๆ หรือ ตามเว็บบอร์ดต่างๆ ที่จะมี User Profile
แนะนำให้ใช้เป็น : Naked Link Anchors
• Free Blog
หากคุณมีบล็อกสร้างมาหลายๆบล็อก (ผมเรียก PBNs แบบประหยัด แบบมือใหม่ – คุณภาพมันไม่เท่าของจริง)
แนะนำให้ใช้เป็น : Exact Match Anchor / Partial Match Anchor / LSI Anchors
• Private Blog Networks (PBNs)
หากคุณใช้ PBNs เสียเงินลงทุนซื้อโดเมนหมดอายุมาทำ ก็อัดเต็มไปเลย แต่แบ่งสัดส่วนให้เนียนๆเป็นธรรมชาติ
แนะนำให้ใช้เป็น : Exact Match Anchor / Partial Match Anchor
• Foundational Links
Foundational Links หรือ ลิงค์พื้นฐานทั่วไป เช่น
– Directories (พวกสารบัญเว็บทั้งหลาย)
– Press Release (เว็บฝาก PR ทั้งหลาย)
– Blog Comments (ไปตอบคอมเม้นท์ในเว็บอื่นๆ)
– Forum Signatures (ลายเซ็นต์ในฟอรั่ม/บอร์ดต่างๆ )
– Sidebar Links (ลิงค์ตรง Sidebar)
– Footer Links (ลิงค์ตรง Footer)
– Social Bookmarks (เว็บโซเชียลบุ๊คมาร์ค)
– Sponsorships (แลกลิงค์, Banner Ads)
ลิงค์จากแหล่งต่างๆที่เป็นพื้นฐานเหล่านี้ พยายามงด Keyword Rich
แนะนำให้ใช้เป็น : Naked Link Anchor / Branded Anchor / Generic Anchor
บทสรุป
การที่ผมนำบทความนี้มานำเสนอ เพราะคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคนทำ SEO โดยเฉพาะมือเก่าๆ ที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ ในเรื่องของ Anchor Text … สำหรับมือใหม่ เชื่อมั่นว่า มีงง แน่นอน 555+ แต่เอาเป็นว่า ขอแค่ให้เข้าใจกันดังนี้ละกัน
1. Backlinks ยังมีความสำคัญต่อการจัดอันดับของ Google
2. Google ให้ความสำคัญกับลิงค์ Anchor Text มากเป็นพิเศษ
3. คนทำ SEO ส่วนใหญ่ (โดยเฉพาะผู้ให้บริการรับทำ SEO) มักจะเน้นที่การสร้างลิงค์
4. ไม่อยากให้คนทำ SEO โดนทำโทษ จาก Google เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์
5. อยากให้ทุกคนมี “ความเนียน” ในการทำ SEO
และเหตุผลที่ผมหยิบยก ประเภทของ Anchor Text ข้างต้นขึ้นนี้มา ก็เพราะ อยากให้คนทำ SEO เข้าใจว่า
การสร้างลิงค์แบบ Anchor มันมีหลายแบบนะ (ไม่ใช่แค่ เอา KEYWORD มาทำเป็น Backlink อย่างเดียว)
Google หันมาให้ความสำคัญของการสร้างลิงค์ โดยพุ่งเน้นไปที่ คุณภาพ (มากกว่า ปริมาณ)
และ หัวใจสำคัญของการสร้างลิงค์ที่มีคุณภาพ คือ ความแนบเนียนเป็นธรรมชาติ นั่นเอง
ดังนั้น สำหรับ SEO การที่เราจะสร้างลิงค์แบบเนียนๆ เป็นธรรมชาติ เพื่อใช้ตบตา Google จึงควรต้องรู้ว่าจะใช้
Anchor Text ประเภทไหนและเมื่อไหร่ดี … เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพของ Backlink ที่เราสร้างขึ้นนั่นเอง
JoJho
คนทำเว็บนอกคอก
ไม่ว่าจะสายไหน หมวกไหน ใช้หลักเดียวกันหมด คือ ต้องเนียน!!
ข้อคิด SEO
“วันนี้ คุณมี ความเนียน แล้วหรือยัง ??” (อิอิ)