ภาพรวมการสร้าง Content ให้รองรับ SEO

2

จากการเข้าร่วมฟัง Webinar ที่ทาง SEMRUSH.com จัดขึ้น วันที่ 12 มีนาคม 2015 ในหัวข้อ Writing Content for SEO in the Post-Hummingbird World โดย Emily Hill – CEO และผู้ก่อตั้ง www.writemysite.co.uk ซึ่งเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้าน Copywriter ของอังกฤษ

ผมคิดว่ามันมีประโยชน์และให้ข้อคิดที่ดีมากทีเดียว ดังนั้นผมจะมาขอสรุป ในส่วนที่สำคัญๆให้ฟังนะครับ (แต่จะอาศัยภาษาและความเข้าใจของผมเอง รวมถึงเสริมเนื้อหาลงไปด้วยนิดหน่อย)

Google Animal (Google Algorithm) ที่ควรรู้จัก

ก่อนที่จะพูดถึง การสร้าง Content หรือ การเขียนบทความ ให้รองรับ SEO หรือ ให้เป็นที่ชื่นชอบของ Google นั้นเราก็จำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจใน Google ก่อน นั่นก็คือรู้จักกับ Google Algorithm ที่อัพเดทออกมาอยู่เรื่อยๆ

Panda (2011)To stop sites with poor quality content
เป็น Algorithm ที่ออกแบบมาเพื่อจัดการเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาคุณภาพต่ำ หรือ เนื้อหาที่ไม่มีคุณภาพ

Penguin (2012)To better catch sites deemed to be spamming
เป็น Algorithm ที่ออกแบบมาเพื่อจัดการกับเว็บไซต์ที่มีการสแปมลิงค์
(เช่น พวกที่ทำ SEO ด้วยการสร้าง Backlinks จาก Link Networks คุณภาพต่ำ หรือพวกที่ซื้อ Links)

Hummingbird (2013)To better focus on the meaning behind the words
เป็น Algorithm ที่ออกแบบมาเพื่อเน้นโฟกัสถึงความหมาย โดยจะไม่อิงเฉพาะเพียง พยางค์หรือคำ ของ Keyword ที่จะมีผลต่อการค้นหา เท่านั้น แต่จะรวมไปถึง ความหมายของคำนั้นๆ รวมไปถึง ความหมายของประโยคทั้งประโยค หรือแม้กระทั่ง ทั้งพารากราฟ ว่ามีความหมาย และความเกี่ยวข้องสอดคล้องกับ Keyword หรือไม่

Pigeon (2014)To provide more useful, relevant and accurate local search results
เป็น Algorithm ในกลุ่มชื่อสัตว์ตัวล่าสุดของ Google ที่ออกแบบมาเพื่อมุ่งเน้นไปที่พัฒนาผลการค้นหาของแบบ Local Search ซึ่งตอนนี้ยังมีผลเฉพาะ U.S. English results เท่านั้น

ในบทความนี้จะเน้นไปที่ การเขียนบทความ สำหรับ SEO โดยเน้นที่ Google Hummingbird เป็นหลัก
ซึ่งแม้ว่า Algorithm นี้จะถูกปล่อยออกมาตั้งแต่ปี 2013 แต่ปัจจุบัน 2015 ก็ยังมีผลอยู่ (มีมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ)

การค้นหา Keyword ในยุคปัจจุบัน (Modern Keyword Research)

จากการอัพเดทของ Google Hummingbird ที่ทำให้ได้รับผลการค้นหาที่ดีขึ้นจากคำค้นหาที่ยาวๆ หรือคำค้นหาที่เป็นประโยค คำถาม ส่งผลให้ในปัจจุบัน การค้นหามีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น … จากแต่เดิมที่ผู้ค้นหาจะใช้เพียงแค่ Keyword เป็นคำๆ ก็เริ่มจะหันมาใช้ Keyword คำค้นหาที่แบบเป็น “วลี” หรือ เป็น “ประโยค” (Conversational Search) กันมากขึ้น

และด้วยการมาของ Hummingbird ที่ทำให้ Semantic Search มีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น ทำให้เราจำเป็นต้องวางกลยุทธ์ หรือหาเทคนิคเพิ่มเติมใหม่ๆในการวิเคราะห์ Keyword

Semantic Search  หมายถึงความสามารถในการค้นหาข้อมูลตามแนวคิดหรือ ความสัมพันธ์ของ Keyword
คือไม่ใช่การสืบค้นเพื่อหาเว็บ เพียงแค่ตัวอักษรตรงกับคีย์เวิร์ดเท่านั้น แบบในอดีต

(สำหรับเทคนิคการหา Keyword หรือ Keyword Research ผมจะขอมานำเสนอแบบเจาะลึกในโอกาสต่อไป)

การใช้ Predictive Search ในการสร้าง Content

ในปี 2004 Google ปล่อยเทคโนโลยีใหม่ออกมา ชื่อว่า Google Suggest (เปลี่ยนชื่อเป็น Google AutoComplete ในปี 2010 และปัจจุบันเรียกว่า Google Instant) เป็นฟังก์ชั่นใหม่ ที่ช่วยทำให้ผู้ค้นหาสะดวกมากยิ่งขึ้น คือ จะทำให้คุณได้คำค้นหาที่ต้องการเร็วขึ้น โดยที่ไม่ต้องพิมพ์ข้อความค้นหาให้เสร็จ ซึ่ง Google จะคาดเดา แนะนำ และแสดงคำค้นหาออกมาให้เราเสร็จสับ

ด้วยความสะดวกสบายนี้เองทำให้ ผู้ค้นหา เริ่มจะใช้การเคาดาดจาก Google นี้มากยิ่งขึ้น ทำให้มีผลกระทบกับ การค้นหา, Keyword และการทำ SEO … ดังนั้น การรู้จักนำ Predictive Search มาใช้การสร้าง Content จึงเป็นอีกไอเดียหนึ่งที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเมื่อเรา มี Main Keyword แล้ว แต่หาไอเดียในการแตกเป็น Niche Keyword หรือ Long Tails Keyword ยังไม่ได้

นอกจาก Predictive Search นี้จะโชว์ใน Search Bar แล้ว ยังแสดงที่ด้านล่างของ SERPs อีกด้วย ทำให้มีประโยชน์มากในการ หา Keyword ที่ใกล้เคียง ซึ่งเป็นการค้นหาที่สอดคล้องกับ Keyword (Related Search) ซึ่งเราสามารถนำไปเป็นไอเดียในการสร้าง Related Content ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนำไปใช้ร่วมกับ Keyword Tools ตัวอื่นๆ

ชนิดของเนื้อหา (Types of Content)

ในความเป็นจริง Content มีหลายชนิด แต่เมื่อพูดถึง Content สำหรับ SEO แน่นอนว่า ย่อมต้องหมายถึง Web Content โดยมันหมายถึง “เนื้อหาสาระ หรือ ข้อมูล” บนเว็บไซต์ ที่จำเป็นต้องมี เพื่อนำเสนอต่อผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บ

โดยหากกล่าวถึง ชนิดของ Web Content สามารถแบ่งออกได้หลายอย่าง แต่หากพูดถึง
การเขียน Content สำหรับ SEO จะยกตัวอย่างได้ เช่น
– บทความในลักษณะ Long-form หรือ Guides
– บทความในลักษณะ Short-form , Web Copy
– บทสัมภาษณ์ (Interviews)
– บทความประเภทรายการ (Checklists) (พวก Top 10 Lists เป็นต้น)
– ข่าวสารและความคิดเห็น (News & Opinion)
– Multi-Media Content เช่น Videos, Infographic, Slideshows เป็นต้น

8 ขั้นตอนพื้นฐานในการสร้าง Content สำหรับ SEO

8-steps-to-content-creation

1. เลือกหัวข้อ (Choose a Topic)
2. สร้างโครงสร้าง (Create a structure) – Start/Middle/End/CTA/Links
3. แสดงเนื้อหาด้วย bullet points
4. ร่างเนื้อหาแล้วขัดเกลา
5. ปรับแต่งให้เป็นมิตรกับ SEO (Basic Onpage-SEO)
6. ตรวจทานและแก้ไข (Edit)
7. เผยแพร่ (Publish)
8. แชร์ (Share) / โปรโมท

พื้นฐาน 8 ขั้นตอนนี้ ส่วนตัวแล้วผมก็ใช้อยู่เช่นกันในการสร้าง Content ใน Webbastard.Net นี้

บทสรุป จาก Webinar ของ Emily Hill

จากการอัพเดทของ Google Hummingbird บ่งบอกว่า การค้นหากำลังเดินไปสู่รูปแบบ Semantic Web มากยิ่งขึ้น Google จะเข้าใจ Content มากยิ่งขึ้น รู้ความหมาย รู้นัยยะ ดังนั้น การสร้าง Content ในลักษณะเชิงลึกที่อุดมไปด้วยข้อมูล ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับหัวข้อ (Topic) ย่อมเป็นการส่งสัญญาณที่ดีให้แก่ Google

ส่งท้ายก่อนจาก Emily ได้กล่าวว่า สำหรับ การเขียน Content ให้รองรับกับ SEO Hummingbird

ทางที่ดีที่สุดในตอนนี้คือ “Nice Long Articles that Solve People’s Problems

nice-long-articles-that-solve-people-problems

บทสรุปส่วนตัว

จากการเข้าไปฟังและตีความเอง ผมคิดว่า บทสรุปของ Emily Hill นั้นยังไม่ตอบโจทย์มากนัก (คือยังไม่ได้พูดเจาะลึกมากนัก แค่ให้ภาพรวมกว้างๆ) แต่ก็ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์ไม่น้อยสำหรับผม และมันทำให้ช่วยจุดประกาย จนผมตัดสินใจ เปิดหมวดหมู่ใหม่ในเว็บ Webbastard.net แห่งนี้ คือ Content Marketing

ผมจะนำความรู้ที่คัดสรรแล้ว ทั้งจากการศึกษาเพิ่มเติมและประสบการณ์ของตัวเอง มาแชร์ให้ความรู้กับพวกคุณ ในสไตล์เล่าสู่กันฟัง …. รอติดตามตอนต่อๆไป … มาเรียนรู้ไปด้วยกันนะครับ

ข้อคิดที่ต้องท่องให้ขึ้นใจ สำหรับการสร้าง Web Content ให้รองรับ SEO ไม่ว่าจะเป็น Content ชนิดใดก็ตาม

เป้าหมายของ Google คือ การให้คำตอบที่ดีที่สุด แก่ผู้ค้นหา ดังนั้นถ้าคุณสามารถ
สร้าง Content ที่ตอบโจทย์  หรือ ตอบคำถามของผู้ค้นหาได้ แสดงว่าคุณมาถูกทางแล้ว

Connecting users with quality content that answers their needs.” (Matt Cutts)

JoJho
คนทำเว็บนอกคอก

About author

WebBastard.Net

WebBastard.Net

เว็บบล็อกที่จะมา เม้าท์มอย + สอน + แชร์เทคนิค การทำ SEO , Social Media Marketing , Content Marketing , การทำเว็บไซต์ด้วย Blogger และ WordPress รวมถึงการทำ Amazon Affiliate ในลักษณะ "การเล่าสู่กันฟัง" จากประสบการณ์ในการทําเว็บแบบมันส์ๆ ของ JoJho - คนทําเว็บนอกคอก

อยากอ่านต่อ ? ... ขอแนะนำ

Google SEO Ranking Factors 2014 – 2015

ในการทำ SEO เรามีจุดมุ่งหมายก็เพื่อที่จะทำให้เว็บติดอันดับในตำแหน่งดีๆบน Google และการที่จะทำเช่นนั้นได้ สิ่งสำคัญที่สุด คือ ความเข้าใจใน Google พวกเราในฐานะคนทำ SEO ต่างอยากรู้ว่า อะไรที่เป็นสาเหตุปัจจัยที่แท้จริง